My Friends

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย




ยุงลายที่เป็นต้นเหตุไข้เลือดออกร้อยละ 95 เป็นยุงที่อยู่ในบ้านเรือน อีกร้อยละ 5
อยู่ตามบริเวณสวน โดยยุงตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 45 วัน หลังผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียว สามารถวางไข่ตัวละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1,000-2,000 ฟอง การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก
ถือเป็นงานที่ท้าทายการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจ และขอความ
ร่วมมือประชาชนให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงให้น้อยที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็น
ฤดูกาลที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด


แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ยุงลายในประเทศไทยที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ยุงลายบ้าน
(Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus)
แหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายทั้งสองชนิดแตกต่างกัน โดยลูกน้ำของยุงลายบ้านจะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ภายในบ้าน และบริเวณรอบๆ บ้าน เช่น โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ บ่อซีเมนต์เก็บน้ำในห้องน้ำ ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด แจกัน ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า และเศษวัสดุต่างๆ ที่มีน้ำขัง เป็นต้น เมื่อปี ค.ศ. 2007 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเครกเวนเตอร์ สามารถถอดรหัสพันธุกรรมของยุงลายบ้านได้เป็นผลสำเร็จ นับเป็นยุงชนิดที่สองในโลกที่ได้รับการศึกษาจีโนมอย่างสมบูรณ์ พบว่าสายพันธุกรรม
ประกอบไปด้วยเบสจำนวน 1.38 ล้านคู่ สร้างโปรตีนทั้งหมด 15,419 ชนิด
ลูกน้ำยุงลายสวนมักเพาะพันธุ์อยู่ในแหล่งธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ โพรงหิน กระบอกไม้ไผ่ กาบใบพืชจำพวกกล้วย พลับพลึง หมาก ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และอยู่บริเวณรอบๆ บ้านหรือ
ในสวน เช่น ยางรถยนต์เก่า รางน้ำฝนที่อุดตัน ถ้วยรองน้ำยางพาราที่ไม่ใช้แล้ว หรือแม้แต่แอ่งน้ำบนดิน ยุงลายสวนตัวเมียจะไม่วางไข่บนน้ำโดยตรงเหมือนยุงชนิดอื่นๆ และมีความสามารถในการกัดได้รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่คนที่ถูกกัดจะตบไม่ทัน

การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้
หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็กๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็น
แจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่างๆ
ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ
ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ ใส่ให้ลึกประมาณ 3 ใน 4 ของความลึกของจานกระถางต้นไม้นั้น เพื่อให้ทรายดูดซึมน้ำส่วนเกินจากการรดน้ำต้นไม้ไว้ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับกระถางต้นไม้ที่ใหญ่และหนัก ส่วนต้นไม้เล็กอาจใช้วิธีเทน้ำที่ขังอยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้งไปทุก 7 วัน
การเก็บทำลายเศษวัสดุ เช่น ขวด ไห กระป๋อง ฯลฯ และยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้ หรือคลุมให้มิดชิดเพื่อไม่ให้รองรับน้ำได้
บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืดๆ อับๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตุว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อยๆ



www.aksorn.com/lib/detail_print....id%3D685

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น